รู้จักกับ มอเตอร์ไฟฟ้า กันให้มากขึ้น

มอเตอร์ไฟฟ้า

ในปี 1820 อ็องเดร-มารี อ็องแปร์ ได้ค้นพบ กฎของแอมแปร์ และนั้นทำให้โลกของอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนไปอย่างสินเชิง เพราะเมือเขาได้พบกฎของแอมแปร์ ขึ้นมาก็ได้มีการเริ่มคิดค้น มอเตอร์ไฟฟ้า ขึ้นมา จนปัจจุบันของสิ่งนี้ได้เป็นตัวแปรสำคัญในการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอย่างมาก และวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ มอเตอร์ไฟฟ้า กันให้มากขึ้นดีกว่าว่า มอเตอร์ไฟฟ้า คืออะไร และ ทำงานอย่างไร ?

หลักการทำงาน เป็นอย่างไร ?

            หลักการทำงานของ มอเตอร์ไฟฟ้า นั้นหลักการทำงานแบบง่าย ๆ นั้นคือ จะเป็นการนำพลังงานไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นพลังงานกล เพื่อให้เกิดแรงเหนี่ยวนำ และตัวมอเตอร์จะเกิดดการหมุนจนนำการหมุนเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์

หลักการเลือกซื้อมอเตอร์ไฟฟ้า

            เมื่อเรารู้แล้วว่ามอเตอร์ไฟฟ้ามีวิธีการทำงานอย่างไร และต่อมาเราจะมาดูกันว่าหลักการเลือกซื้อมอเตอร์ไฟฟ้านั้นมีอะไรบ้าง ?

                1. ขนาดของแรงม้า : เราจะใช้มอเตอร์ขนาดที่กี่แรงม้า ควรเลือกขนาดที่พอดีกับตัวเก่าของเราไม่ควรให้น้อยกว่าเดิมเพราะอาจจะทำให้คุณภาพของงาน หรือ ความเร็วในการทำงานลดลง

                2.รอบมอเตอร์ : พลังงานไฟฟ้าที่นำเข้ามานั้นจะถูกแปลงเป็นพลังงานกล ซึ่งความเร็วในการหมุนนั้นอยู่ที่การแปลงไฟฟ้ามาเป็นพลลังงานกล ดังนั้นเราจะต้องรูว้าเราจะใช้รอบมอเตอร์ที่เท่าไหร่ เพราะถ้าหากเลือกรอบที่ช้าอาจจะทำให้งานของเราลดคุณภาพลงก็ได้นะครับ

                3. ลักษณะการติดตั้ง : ลักษณะการติดตั้งของมอเตอร์ไฟฟ้า นั้นมีสองแบบคือ แบบขาตั้ง ที่จะใช้ตัวมอเตอร์นั้นยึดติดกันเหล็กข้อดีคือแน่นหนาทำงานหนัก ได้ตลอดเวลา กับอีกเบเบที่เราเรียกว่าแบบว่าการติดตั้งหน้าแปลน ที่ตัวมอเตอร์ไฟฟ้าจะยื่นออกมาเพื่อให้ทำงานร่มกับมอเตอร์ตัวอื่น ๆ ได้

                4.ระบบไฟ : ระบบไฟที่ใช้ในการต่อเข้ามอเตอร์นั้นมี 2 แบบนั้นคือ ไฟเฟสที่ 1 และ ไฟเฟสที่ 3 เราจะต้องรู้ว่ามอเตอร์ไฟฟ้าที่เราจะเลือกใช้นั้นเป็นไฟแบบไหน ใช้กับไฟเฟสที่เท่าไหร่ เพื่อที่เราจะได้ต่อไฟเข้ามอเตอร์ไฟฟ้าได้ แต่ถ้าไม่รู้จริง ๆ ควรถามนะครับ ไม่ควรซื้อมาลองเพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้                

ดังนั้นหากใครที่กำลังมองหรือศึกษาในเรื่องของมอเตอร์ไฟฟ้าอยู่ข้อมูลพวกนี้นั้นเป็นเรื่องแรก ๆ ที่เราต้องเรียนรู้ไว้เลยนะครับในเรื่องของมอเตอร์ไฟฟ้าแต่ถ้าหากจะซื้อเข้าไปใช้ในโรงงานควรรู้รายละเอียดที่ดล่าวไปนะครับจะได้ไม่สร้างความเสียหาย

Article Categories:
Default

Comments are closed.